วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

โคลอสเซียม Colosseum




โคลอสเซียม Colosseum
        โคลอสเซียม (Colosseum) ในภาษาอิตาลีเขียนว่า โคลอสเซ (Colosseo) เป็นสนามกีฬากลางแจ้งที่ทุกคนรู้จักกันดีในนามสัญลักษณ์ของโรม ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโรม เริ่มสร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิเวสเปเซียนแห่งจักรวรรดิโรมัน และสร้างเสร็จในสมัยของจักรพรรดิไททัส ในคริสต์ศตวรรษที่ 1
ลักษณะของโคลอสเซียมเป็นสนามกีฬารูปวงรีคล้ายกับสนามฟุตบอล แต่ว่าโดยรอบจะประกอบไปด้วยเสาหินทรายและอิฐที่ก่อให้เป็นเหมือนบานประตูโค้งเว้า มีเนื้อที่โดยรอบวัดได้ประมาณ 527 เมตร สูง 57 เมตร จุผู้ชมได้สูงสุด 50,000 คน และมีการออกแบบให้มีทางระบายน้ำเวลาเกิดฝนตก นับว่าเป็นความฉลาดของวิศวกรในสมัยนั้นมาก ซึ่งเป็นต้นแบบของการระบายน้ำให้แก่ชาวเมืองในเวลาต่อมา
การก่อสร้างโคลอสเซียมนั้นถือเป็นการประกาศความมั่งคั่งและอำนาจของอาณาจักโรมันอย่างแท้จริง จากที่เคยสู้รบกับอาณาจักรคอจเทจที่เคยรุกราณดินแดนจากฝั่งตูนีเซียมายังเกาะอิตาลี แต่ก็ต้องพ่ายให้แก่โรมันในศึกเรือรบที่ อ่าวมัลตา (Malta) บริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จนชาวโรมันหึกเหิมและโต้ตอบโดยการส่งทหารข้ามฝากไปทวงอำนาจคืนจนอาณาจักรคอจเทจต้องล่มสลายในที่สุด
ปัจจุบัน โคลอสเซียม ถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก และได้รับการสนับสนุนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ชื่นชอบยุคแห่งโรมัน
ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่สนใจเดินทางมาเที่ยวโรมและโคลอสเซียมส่วนมากจะเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน เราจะสังเกตุได้ว่านักท่องเที่ยวที่นี่จะมีจำนวนมากเป็นพิเศษ ค่าตั่ซสำหรับเข้าชมโคลอสเซียมจะอยู่ที่ประมาณ 12 ยูโร สามารถชมได้ 2 วัน



ที่มา: http://www.108trips.com/blog-482

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย



ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=vcTVJxnm3LQ

มรดกโลกในประเทศฝรั่งเศส


หอไอเฟล 
          (ฝรั่งเศส: Tour Eiffel) หอคอยโครงสร้างเหล็ก ที่Champ de Mars บริเวณแม่น้ำแซน ในเมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส สถานที่และสัญลักษณ์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของฝรั่งเศสก่อสร้างในปี พ.ศ. 2432 โดยกุสตาฟไอเฟล ผู้ออกแบบคนเดียวกับเทพีเสรีภาพ เพื่อเป็นสัญลักษณ์การจัดงานแสดงสินค้าโลกในปี 1889 ฉลองครบรอบ 100 ปีแห่งการ ปฏิวัติอุตสาหกรรม หอไอเฟลทำขึ้นจากโลหะ 15,000 ชิ้น หนักถึง 7,000 ตัน ยึดต่อด้วยน๊อต 2,500,000 ตัว สีทาทั้งหมด 35 ตัน สูง 1,050 ฟุตสิ้นเงินค่าก่อสร้าง 7,799,401ฟรังก์แรกๆ ที่หอไอฟสร้างเสร็จ หอไอเฟลได้รับการประณามโดยทั่วไปว่าเป็นไอเดียที่ประหลาดและไม่เข้าท่าหอคอยไอเฟลได้ชื่อว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในช่วงเวลา พ.ศ. 2432 ถึง 2473 ในปัจจุบัน หอคอยไอเฟลมีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมประมาณ5.5ล้านคนต่อปีนับเป็นหนึ่งใน7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่



พระราชวังแวร์ซายน์ 
          พระราชวังแวร์ซายน์ อยู่ในกรุงปารีสประเทศฝรั่งเศสเป็นพระราชวังที่สวยงามน่ามหัศจรรย์ยิ่งแห่งหนึ่งของโลกสมัยปัจจุบัน สร้างโดย พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส มีอัลเครด เลอ นอสเตอ์เป็นสถาปนิกลงมือสร้างเมื่อ ค.ศ. 1661 สร้างอยู่นาน 30 ปีจึงแล้วเสร็จ สิ้นเงินค่าก่อสร้าง 500,000,000ฟรังก์ ใช้คนงาน 30,000คน ทุกส่วนทำด้วยหินอ่อนสีขาวเป็นแบบอย่างและศิลปกรรมก่อสร้างที่งดงามมาก ภายในพระราชวังแวร์ซายน์ แบ่งออกเป็นห้องต่าง ๆ เช่น ห้องบรรทม ห้องเสวย ห้องสำราญ ห้องทรงพระอักษร ห้องโถง ห้องออกว่าราชการ ทุกห้องมีเครื่องประดับประดาล้วนแต่มีค่าสูงมากมายทั้งวัตถุ และภาพเขียนที่มีชื่อเสียง ห้องที่มีชื่อมากที่สุดของพระราช วังแห่งนี้ก็คือห้องกระจก ซึ่งเคยใช้เป็นห้องลงนามในสัญญาสงบศึก ระหว่างสัมพันธมิตรกับเยอรมันในมหายุทธสงครามโลกครั้งแรกและเป็นที่ใช้ลงนามในเมื่อเยอรมันบุกตีชนะฝรั่งเศสในมหายุทธสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย ในการทำสงครามใหญ่ทุกครั้งฝรั่งเศสจะประกาศให้กรุงปารีสเป็นเขตปลอดสงครามคือไม่มีทหารตั้งอยู่ทั้งนี้เพื่อรักษาไม่ให้พระราชวังแห่งนี้ต้องได้รับความเสียหายจากการโจมตี ของข้าศึกไม่ว่าโดยทางใด


ประตูชัย
        ประตูชัยนี้ ตั้งอยู่บนถนนช็อง-เอลิเซ่ส์ ที่ตำบลเอตัวล์ บริเวณจตุรัสแห่งดวงดาว (
Place de l'Etoile) เป็นประตูชัยที่สร้างโดยสถาปนิก ชื่อ ช็อง ชาลแกร็ง (Jean Chalgrin) ในสมัย พระเจ้านโปเลียนที่1และเสร็จในสมัยพระเจ้าหลุยส์-ฟิลลิปส์ (ค.ศ 1810-1836) สูง 50 เมตร หนา 50 เมตร และกว้าง 45 เมตร ที่ผนังด้านในใต้ส่วนโค้งมีการตกแต่งด้วยรูปสลักอันสวยงามต่างๆเช่น ผลงานชื่อ เดอปาร์ต เดส์ โวล็องติเอส หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ลา มาร์แซย์แยส (La Marseillaise) และผลงานเกี่ยวกับชัยชนะทางทิศตะวันตก ของ พระเจ้านโปเลียน ที่ตอนบนของส่วนโค้งเป็นภาพนูนต่ำ แสดงถึงพิธีศพของ มาร์โซ (Marceau) สงครามอาเล็กซานเดรีย (Alexandrie) ออสเตร์ลิทซ์ (Austerlitz)
        มิวซีโดแรง บ้านของประติมากรเอกแห่งฝรั่งเศส ออกุสต์ โรแดง ซึ่งได้กลายเป็น พิพิธภัณฑ์แสดงผลงานที่ล้ำค่าที่โรแดงได้ทิ้งเอาไว้ให้เป็นสมบัติของชาติ ผู้ที่รักศิลปะไม่ควรพลาดการไปเยี่ยมชมที่นี่


ที่มา:http://westernartandculturedpu02pornnapa.blogspot.com/

ศิลปะอียิปต์




ศิลปะอียิปต์
อียิปต์โบราณ มีความสามารถในการสร้างสรรค์ศิลปกรรม และมีทักษะในการใช้วัสดุตามความเหมาะสมเป็นอย่างมาก ลักษณะศิลปกรรมของอียิปต์แบ่งออกเป็น อาณาจักรใหญ่ๆได้ ๓ ยุค คือ
๑.ยุคอาณาจักรเก่า (The Old Kingdom)
๒.ยุคอาณาจักรกลาง (The Middle Kingdom)
๓.ยุคอาณาจักรใหม่ (The Empire)

ยุคอาณาจักรเก่า (The Old Kingdom) 
ศิลปกรรมของอียิปต์ในอาณาจักรเก่า เกี่ยวข้องกับความเชื่ออย่างแยกไม่ออก กล่าวได้ว่า ความเชื่อของสังคมนั้นมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะแขนงจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม พอสรุปความเชื่อต่างๆได้ดังนี้
๑.เชื่อว่าชีวิตในโลกหน้ามีความสำคัญมาก
๒.เชื่อว่ามนุษย์ประกอบด้วยร่างกายและวิญญาณ (Ka/Body)
๓.เชื่อว่าความสะดวกสบายของชีวิตในปัจจุบันนี้ มีส่วนช่วยให้ชีวิตหลังความตายไปแล้วมีความสบายด้วย
๔.เชื่อว่าฟาโรห์ คือ พระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่
๕.เชื่อว่าหลักการ กฎเกณฑ์ ทางศิลปะเป็นของดี ผู้สร้างสรรค์ศิลปะต้องเคารพแบบแผน

ลักษณะเฉพาะของศิลปกรรมยุคอาณาจักรเก่าทางประติมากรรม
๑.ประติมากรรมมีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยม ท่าทางของสิ่งที่แกะสลักมีลักษณะตามคุณสมบัติของวัสดุ
๒.ประติมากรรมเป็นความงามตรงหน้าตามกฎการมองเห็น ทางด้านหน้า กล่าวคือ รูปประติมากรรมจะมีลักษณะมองตรงไปข้างหน้า แนวคางจะขนานกับเส้นพื้น ไม่ก้มไม่เงยหน้า
๓.ประติมากรรมมีรูปทรงใหญ่โต ลักษณะทึบตัน และทนทาน เพื่อจะได้อยู่ทนนาน
๔.ประติมากรรมมีทั้งแบบลอยตัว (Round Relief) และแบบนูนต่ำ (Bas Relief)
๕.ไม่เห็นกล้ามเนื้อชัดเจน นิยมตกแต่งประติมากรรมด้วยการประดับแก้ว หินบางส่วน หรือทาสี

ลักษณะเฉพาะทางสถาปัตยกรรม
๑.มีลักษณะง่ายและทนทาน สถาปัตยกรรมในยุคเก่านี้นิยมสร้างมัสตาบา (Mastaba) และ ปิรามิด (Pyramid) ปิรามิดที่เก่าแก่และใหญ่โตที่สุด คือ ปิรามิดที่ กิซา (Giza) ของกษัตริย์ คีออปส์ (Cheops) และปิรามิดที่คูฟู (Khufuw)
๒.ในปิรามิดจะแบ่งเป็นห้องหลายห้อง เพื่อบรรจุทรัพย์สมบัติ และสิ่งของเครื่องใช้ในหลุมฝังศพไปพร้อมกับผู้ตาย ด้วยมีความเชื่อว่า ผู้ตายจะได้นำไปใช้ในโลกหน้าซึ่งจะรวมทั้งอาหารและเสื้อผ้า
๓.รู้จักนำเอาประติมากรรมตกแต่งสถาปัตยกรรม เช่น ทำรูปสลักหิน สฟิงซ์ ประกอบปิรามิดหรือตามทางเข้าด้านหน้า
๔.มีความชำนาญในการนำเอาหินมาสร้างเป็นสถาปัตยกรรม
๕.รู้จักทำโครงสร้างแบบวางพาดมาใช้

ลักษณะจิตรกรรม
ลักษณะจิตรกรรมในยุคอาณาจักรเก่า ส่วนมากอยู่ตามหลุมฝังศพ มีเรื่องราวต่างๆ และลักษณะของจิตรกรรมดังนี้ 
๑.นิยมเขียนภาพสัตว์พร้อมทั้งระบายสีด้วย
๒.ใช้สีเรียบตัดเส้นรอบนอก เขียนลายละเอียดชัดเจน
๓.แสดงลักษณะประดิษฐ์ตามธรรมชาติและแอบสแตรกปนกัน
๔.จิตรกรรมรูปคน มักจะสลับด้าน เพื่อความสะดวกในการเขียน เช่น หัวเขียนด้านข้าง ตาเป็นรูปด้านหน้า และรูปเท้าเป็นด้านข้าง เป็นต้น

ศิลปกรรมอียิปต์ในยุคเก่า พอสรุปได้ว่าเป็นยุคของประติมากรรมและสถาปัตยกรรมมากกว่าจิตรกรรม ผลงานมีลักษณะทนทานถาวร ใหญ่โต ทึบ ตัน ส่วนใหญ่หนักไปทางสนองความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย

ที่มา: http://www4.eduzones.com/

ประเภทของศิลปะ


ประเภทของศิลปะ
ประเภทของศิลปะ
       ปัจจุบัน ศิลปินได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะไว้มากมายหลายประเภท ซึ่งเรา สามารถแบ่ง ประเภทของศิลปะ ออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ   ตามประเภทของความงาม คือ
       1. วิจิตรศิลป์ (Fine Art) คือศิลปะที่อำนวยประโยชน์ทางใจ ที่ มุ่งเน้นความงดงาม และความพึงพอใจ มากกว่าประโยชน์ใช้สอย   หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการ ทางด้านจิตใจ และอารมณ์ เป็นสำคัญ แบ่งออกเป็น 6 แขนง คือ
  1.1 จิตรกรรม(ภาพเขียน)
  1.2 ประติมากรรม(ภาพปั้น)
  1.3 สถาปัตยกรรม(งานก่อสร้าง)
  1.4 วรรณกรรม(บทประพันธ์)
  1.5 ดนตรี และนาฏศิลป์(การขับร้อง,การบรรเลง)
  1.6 การพิมพ์ภาพ
        2. ประยุกต์ศิลป์ (Applied Art) คือศิลปะที่อำนวยประโยชน์ทางกายมุ่งเน้นประโยชน์ทางการใช้สอยมากกว่าความงาม   หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการ ทางร่างกาย แบ่งออกเป็น
   5 แขนง คือ
  1.1 พาณิชย์ศิลป์ (ศิลปะเพื่อประโยชน์ทางการค้า)
  1.2มัณฑนศิลป (ศิลปะการตกแต่ง)
  1.3 อุตสาหกรรมศิลป์(ศิลปะออกแบบผลิตภัณฑ์)
  
1.4 หัตถศิลป์ (ศิลปะที่ใช้ฝีมือ)
  1.5 การออกแบบ


ที่มา: http://fern5588.blogspot.com/

ศิลปะคลาสสิค


ความหมายของศิลปวัฒนธรรมแบบนีโอ-คลาสสิก
     ศิลปะแบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classicism) เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 งานสร้างสรรค์ยังคงยึดรูปแบบคลาสสิกของกรีก-โรมัน แต่ให้ความสำคัญต่อเหตุผลมากที่สุด เนื่องจากในช่วงเวลาอยู่ในยุคของเหตุผล (Age of Reason) หรือสมัยแห่งภูมิปัญญา (The Enlightenment) มนุษย์มีความเชื่อมั่นในเหตุผล เชื่อความสามารถและสติปัญญาของตน อันเป็นผลมาจากการปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา

งานสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมแบบนีโอ-คลาสสิก
     1. งานสถาปัตยกรรม มีความเจริญรุ่งเรืองในฝรั่งเศส ได้รับอิทธิพลศิลปะกรีก-โรมัน อยู่มาก เช่น ประตูชัยที่กรุงปารีส และพระราชวังเปอติต์ ตริอานอง (Pettit Trianon) ที่มีความงดงามหรูหราของฝรั่งเศส

    2. งานด้านจิตรกรรมและประติมากรรม มีลักษระเด่นคือ เน้นเรื่องเส้นมากกว่าการใช้สี มีความเรียบง่าย แต่สง่างามตามแบบศิลปะกรีก-โรมัน ผลงานมีลักษณะคล้ายคลึงกับของกรีกโบราณ โดยเฉพาะการแต่งกาย เช่น รูปปั้นของพระเยซูที่แต่งกายแบบกรีกโบราณ เป็นต้น
จิตรกรที่มีชื่อเสียงแห่งยุค คือ ฟรานซิสโก โกยา (Francisco Goya) ชาวสเปน เขียนภาพแสดงความเลวร้ายของชนชั้นปกครองสเปน และความเสื่อมโทรมของศาสนจักรและสังคมในสมัยนั้น
     3. งานวรรณกรรม ยังคงมีอิทธิพลของศิลปะกรีก-โรมันแฝงอยู่ กล่าวคือ ยึดมั่นในระเบียบแบบแผนและกฎเกณฑ์เดิม แต่เน้นความสำคัญของเหตุผลและความคิด มิใช่อารมณ์อย่างเดียว มีการเขียนวิพากษ์วิจารณ์และเสียดสีสังคมมากขึ้น สะท้อนถึงความต้องการที่จะปรับปรุงสังคมให้ดีงามโดยสันติวิธี ภาษาที่ใช้มีความไพเราะสละสลวย แต่ในช่วงตอนปลายของคริสต์วรรษที่ 18 งานวรรณกรรมค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไป การยึดมั่นในระเบียบกฎเกณฑ์ของวรรณกรรมคลาสสิกลดน้อยลง แต่ให้ความสำคัญแก่เสรีภาพในการเขียน โดยใช้รูปแบบที่เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เช่น การใช้ภาษาประจำชาติของผู้ประพันธ์ เป็นต้น
         3.1 กวีนิพนธ์ ที่มีชื่อเสียงมากเป็นผลงานของอเล็กซานเดอร์โป๊ป (AlexanderPope) กวีชาวอังกฤษ เรื่อง "ความเรียงเรื่องมนุษย์" (Ah Essay on Man) เขียนตามรูปแบบและกฎเกณฑ์สมัยคลาสสิกอย่างเคร่งครัด ใช้ถ้อยคำคมคาย เสียดสีมนุษย์และสังคมอย่างตรงไปตรงมา
         3.2 งานร้อยแก้ว มีลักษณะมุ่งวิพากษ์วิจารณ์เสียดสีสภาพสังคมและการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมของฝ่ายคริสต์จักร ดังเห็นได้จากผลงานของวอลแตร์ (Voltaire) นักปรัชญาการเมืองชาวฝรั่งเศส และโจนาธาน สวีปท์ (Jonathan Swift) นักเขียนชาวอังกฤษ ที่เขียนเรื่อง "การผจญภัยของกัลลิเวอร์" (Gulliver's Travels) ซึ่งมุ่งถากถางสังคมและการปกครองของอังกฤษในขณะนั้น ตลอดจนแดเนียล เดอโฟ (Daniel Defoe) นักเขียนชาวอังกฤษ ซึ่งได้รับยกย่องให้เป็นต้นแบบของงานเขียนวรรณกรรมประเภทนวนิยาย (Novel) ของสมัยปัจจุบันผลงานที่เด่นที่สุด คือ "โรบินสัน ครูโซ" (Robinson Crosoe)
     4. นาฎกรรม บทละครนีโอ คลาสสิก ได้รับอิทธิพลจากบทละครกรีกที่เน้นความสมเหตุสมผลของเรื่อง และมุ่งสอนศีลธรรมแก่ผู้ชมควบคู่กับความบันเทิง มีทั้งบทละครประเภทโศกนาฎกรรมและสุขนาฎกรรม
     5. ดนตรี อิทธิพลของแนวความคิดในสมัยแห่งเหตุผลที่เชื่อมั่นในภูมิปัญญาและความสามารถของมนุษย์ เปิดโอกาสให้นักดนตรี นักร้องและนักแต่งเพลง แสดงความสามารถส่วนตัวออกมาได้อย่างเต็มที่ เช่น การแสดงดนตรีเดี่ยว และการร้องเดี่ยวให้เพลงโอเปร่า เป็นต้น การประพันธ์เพลงจะยึดหลักเกณฑ์โดยเคร่งครัด นักดนตรีที่สำคัญได้แก่ โมสาร์ท (Mozart) และ บีโธเฟน (Beethoven)



ที่มา:  http://www.ngwk.ac.th/